มลพิษทางน้ำ หรือ น้ำเสีย คือ ภาวะของน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารหรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ และยังก่อให้เกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ
ต่อผู้ใช้น้ำเสียนั้น โดยแหล่งที่มาของมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่มาจาก น้ำเสียของแหล่งชุมชน(Domestic Wastewater)
น้ำเสียจากชุมชนส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมการใช้นำของผู้ที่พักอาศัยภายในอาคารบ้านเรือน เช่น การอาบน้ำชำระล้างร่างกายการขับถ่าย การประกอบอาหาร การล้างภาชนะ การซักล้าง เป็นต้น ซึ่งมีอัตราการไหลของน้ำเสีย ปริมาณ และลักษณะน้ำเสียที่แตกต่างกันตามกิจกรรมต่างๆ โดยปริมาณน้ำ
เสียที่ปล่อยทิ้งจากบ้านเรือนจะมีค่าประมาณร้อยละ ๘๐ ของปริมาณน้ำใช้หรืออาจประเมินได้จากจำนวนผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือน
สารอินทรีย์ เช่น สิ่งขับถ่ายหรือสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์และสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ เศษอาหาร เศษผักผลไม้ เศษใบไม้ เป็นต้น ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเกิดการเน่าเสีย และมีกลิ่นเหม็นน้ำมันและไขมัน เนื่องจากน้ำมันจะลอยเป็นฟิล์มบนผิวน้ำขัดขวางการแลกเปลี่ยนถ่ายเทออกซิเจนระหว่างน้ำและอากาศ ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ และเป็นพิษต่อสัตว์และพืชที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ รวมทั้งส่งผลต่อระบบนิเวศทางน้ำเชื้อโรค จุลินทรีย์ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือโรคติดเชื้อได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว ก่อให้เกิดการแพร่กระจายโรคต่างๆสู่มนุษย์และสัตว์
แนวทางการจัดการน้ำเสียจากบ้านเรือน
แนวทางที่ 1 ชุมชนที่ยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย รวมของชุมชน โดยบ้านเรือนแต่ละหลังควรมีการบำบัดน้ำเสียของตัวเองด้วยการบำบัดน้ำเสีย ขั้นต้น ด้วยบ่อดักไขมันและบ่อเกรอะ และตามด้วยระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก เพื่อให้น้ำทิ้งมี คุณภาพดีขึ้นก่อนปล่อยเข้าท่อระบายน้ำสาธารณะ หรือ บ่อซึมลงดิน
แนวทางที่ 2 กลุ่มชุมชนใช้ระบบบำบัดน้ำ เสียรวมแบบกลุ่มอาคาร (Cluster) โดยกลุ่ม บ้านเรือนรวมหลายหลังมีการบำบัดน้ำเสีย ขั้นต้นด้วยบ่อดักไขมันและบ่อเกรอะแต่ละ หลัง แล้วส่งน้ำเสียเข้าท่อรวบรวมน้ำเสียไปบำบัดที่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมแบบกลุ่ม อาคาร (Cluster) ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สาธารณะ