สื่อประชาสัมพันธ์ “เรียนรู้ ร่วมแรง รณรงค์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด” “เรียนรู้ ร่วมแรง รณรงค์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด”

สื่อประชาสัมพันธ์ “เรียนรู้ ร่วมแรง รณรงค์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด” “เรียนรู้ ร่วมแรง รณรงค์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด” คณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แจ้งว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงโปรดเกล้าให้คณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จัดทำโครงการผลิตสื่อเพื่อรณรงค์ป้องกัน ภาวะคลอดก่อนกำหนดให้กับประชาชนใน 4 ประเด็นหลัด คือ ตอนที่ 1 อันตรายของการคลอดก่อนกำหนด เมื่อพบภาวะแทรกซ้อนในทารกเกิดก่อนกำหนด จะส่งผลให้ทารกรายนั้นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องมากกว่าทารกครบกำหนด เช่น ทารกมีโรคปอดเรื้อรังบางรายต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนตลอดเวลา อย่างน้อย 6 เดือน ถึง 2 ปี โรคจอตาเจริญเติบโตผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด ทำให้เสี่ยงต่อการมีสายตาเลือนลางหรือตาบอดหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ทารกมีภาวะเลือดออกในโพรงสมองอาจมีผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต หากเป็นโรคลำไส้เน่าเปื่อยและได้รับการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนตายออกไป อาจไม่สามารถกินนมได้ช่วงเวลาหนึ่ง คุณแม่กลุ่มนี้จึงมักมีความเครียดสูง กลัวลูกเสียชีวิต ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งหากเครียดมากก็อาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่ดูแลตัวเอง นอกจากนี้การที่ทารกมีอายุครรภ์น้อนมากๆ คุณแม่ก็อาจไม่สามารถให้นมบุตรได้เอง ส่งผลให้การสร้างน้ำนมลดลง ต้องเปลี่นมาใช้นมผสมทดแทน เป็นต้น ตอนที่ 2 ฝากครรภ์เร็วปลอดภัยกว่า การที่หญิงตั้งครรภ์เข้ามาฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์แรก จะนำไปสู่การยืนยันอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ได้รับการประเมินความเสี่ยงจากแพทย์เพื่อรักษาและป้องกัน หากมาช้ากว่าอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ อาจทำให้การคำนวณอายุครรภ์ผิดพลาด ไม่สามารถกำหนดอายุครรภ์เมื่อครบ 37 สัปดาห์ ได้ นอกจากนั้นโอกาสที่จะได้รับการดูแลรักษาโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอาจล่าช้าออกไป เพราะผู้หญิงหลายคนอาจมีความเสี่ยงซ่อนอยู่ เมื่อตั้งครรภ์อาจมีผลต่อสุขภาพของตนเอง เช่น ฟันผุ โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือ ประวัติการผ่าตัดคลอด ผ่าตัดมดลูกและปีกมดลูกประวัติความเจ็บป่วยในพ่อ-แม่-พี่น้อง-ครอบครัว ก็อาจมีผลต่อบุตรในครรภ์ได้ ควรสร้างจิตสำนึกให้ไปพบแพทย์เมื่อทราบวาสตั้งครรภ์ เพื่อให้แพทย์ค้นหาความเสี่ยง และความเจ็บป่วยในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ตอนที่ 3 ชีวิตลูกอยู่ในมือแม่ (พฤติกรรมของแม่) จากการศึกษาข้อมูลงานวิจัย พบว่า หญิงเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดเป็นหญิงกลุ่มวัยทำงานที่มีหลากหลายอาชีพ ได้แก่ ค้าขาย เกษตรกรรม รับจ้าง เป็นต้น ในขณะที่อีกบทบาทหนึ่ง คือ แม่บ้าน ตั้งแต่ ล้างจาน ทำความสะอาดบ้าน หุ้งข้าว ทำกับข้าว ซักผ้าและรีดผ้า เป็นต้น การเปลี่ยนท่านั่งยองเป็นยืนบ่อยครั้ง หรือเดินขึ้นบันไดหลายครั้งต่อวัน หากมีบุตรที่ต้องดูแล หรือผู้ป่วยติดเตียง ก็มีความเหนื่อยล้ามากขึ้น หากเป็นหญิงทำงานการเดินทางมาทำงานไกลทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซด์หรือจักรยาน การยืนโหนราวบนรถเมล์หรือรถไฟฟ้าขณะเดินทางที่ต้องเกร็งตัวเมื่อรถเลี้ยว หรือวิ่งอยู่บนถนนที่ขรุขระ อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อบุตรในครรภ์ได้ อันนี้ไม่นับรวมกับพฤติกรรมขณะทำงาน เช่น การกลั้นปัสสาวะ การนั่งทำงานนานๆ หรือ ความเครียดจากการทำงาน ตอนที่ 4 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด จากการศึกษาหญิงคลอดบุตรก่อนกำหนดในโครงการวิจัย พบว่า ประมาณ ร้อยละ 62 ของหญิงคลอดก่อนกำหนดให้ข้อมูลว่าไม่เคยมีความรู้เรื่องภาวะคลอดก่อนกำหนดมาก่อน และเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด หรืออาการผิดปกติอื่นๆ มักเดินทางเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า ใช้เวลามากกว่าเมื่อมีอาการผิดปกติอื่น เช่น เลือดออก มีน้ำไหลออกจากช่องคลอด เป็นต้น จนมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรงมากขึ้นจึงเข้ามารับการรักษา เป็นเหตุให้แพทย์ไม่สามารถให้การยับยั้งต่อจนสามารถตั้งครรภ์ครบกำหนดคลอด มีน้อยมากที่บอกว่ากลัวทารกเป็นอันตรายจากการคลอดก่อนกำหนด คณะผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแนวคิดเรื่องการผลิตสื่อเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสำหรับให้ประชาชน และหญิงตั้งครรภ์ได้รับทราบเพื่อนำไปใช้ป้องกันและดูแลครรภ์ตนเองต่อไป หากมีสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ ต้องรีบไปพบหมอทันที! ท้องแข็ง ท้องปั้น ปวดบั้นเอว เจ็บหน่วงท้องน้อย มีน้ำไหล มีเลือดออก แม้ไม่เจ็บท้อง โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://www.tmchnetwork.com/